ทำความรู้จัก Wicked Problems ปัญหาที่ไม่มีคำตอบ?
หนึ่งในปัญหาที่น่าปวดหัวที่สุดบนโลกใบนี้ถูกนิยามด้วยคำว่า Wicked Problems
หนึ่งในปัญหาที่น่าปวดหัวที่สุดบนโลกใบนี้ถูกนิยามด้วยคำว่า Wicked Problems แปลตรงตัวว่า ปัญหาชั่วร้าย หรือที่เรียกว่า ปัญหาที่ไม่มีคำตอบ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักมีปัจจัยที่พึ่งพากันไปมาทำให้ดูเหมือนแก้ไขไม่ได้
ตัวอย่างปัญหาที่เป็น Wicked problems คือปัญหาที่เกิดจาก external factor หรือปัจจัยภายนอก ที่มีผลกระทบกับปัญหาหลัก และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง เช่น ปัญหาทางด้านเศรษฐกิต, ปัญหาความยากจน, ปัญหาทางวัฒนธรรม และปัญหาด้านการศึกษา เป็นต้น
คำว่า Wicked Problems ถูกนิยามครั้งแรกโดย Horst Rittel นักทฤษฎีการออกแบบ และศาสตราจารย์ด้านการออกแบบที่ Ulm School of Design ที่ประเทศ Germany ซึ่งเขาได้เขียนอธิบายลักษณะเฉพาะของ Wicked Problems ไว้ทั้งหมด 10 ข้อ คือ
-
ปัญหาที่ไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่มีวิธีการแก้ไขที่ตายตัว
-
ปัญหาที่ไม่สามารถระบุจุดสิ้นสุดของปัญหาได้ มีแต่ลองทำและปรับไปเรื่อย ๆ
-
ผลลัพธ์ของการแก้ไขปัญหาไม่มีถูกหรือผิด มีแต่ผลลัพธ์ที่ ดี หรือ แย่ เท่านั้น
-
เป็นปัญหาที่ไม่มีวิธีในการทดสอบเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในทันที
-
ทุการแก้ไขปัญหาเป็นการดำเนินการแก้ไขแบบครั้งเดียว เพราะงั้นจะไม่มีโอกาสในการเรียนรู้จากการลองผิดลองถูก การลองแก้ไขทุกครั้งจึงสำคัญมาก
-
ไม่มีจำนวนที่ตายตัวสำหรับวิธีที่จะใช้ในการแก้ปัญหาที่เป็น Wicked Problem
-
ทุกปัญหาที่เป็น Wicked Problems จะมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป
-
ทุกๆ Wicked Problems จะเป็นเหตุของ Wicked Problems อื่น ๆ เสมอ
-
ปัญหาที่สามารถมองได้หลายมุม สามารถตีความได้มากกว่าหนึ่งรูปแบบ ขึ้นอยู่กับมุมมองและประสบการณ์ที่มีต่อปัญหานั้น ๆ
-
นักออกแบบ และนักวางแผน ไม่มีโอกาสในการทำผิด และต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองอย่างเต็มที่
ซึ่งวิธีการในการแก้ไขปัญหา Wicked problems นั้นสามารถพยายามทำได้โดยการทำความเข้าใจปัญหาอย่างถี่ถ้วนด้วย tools อย่าง design thinking ที่ช่วยให้เราจัดการกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ และแนวคิดแบบ Agile ที่เน้นผลลัพธ์มากกว่าขั้นตอน เพื่อค้นหาแนวคิดในการแก้ไขปัญหาเพื่อนำมาบรรเทาปัญหานั้น ๆ ให้ดียิ่งขึ้น
Peace! ✌️